วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการใช้สีน้ำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

เทคนิคพื้นฐาน5ย่างนี้จะทำให้เพื่อนๆ หรือผู้ที่เริ่มต้นรูกจักสีน้ำมากขึ้น และสามารถนำไปสร้างผลงานศิลปะด้วยสีน้ำที่สวยงามได้อย่างแน่นอนค่ะ
การระบายแบบเปียกบนเปียก (Wet ON Wet) 
คือสีเปียก (สีผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษเปียก (กระดาษที่ระบายน้ำหรือน้ำสีไว้แล้ว) วิธีการคือ ใช้พู่กันจุ่มสี (ค่อนข้างข้น) แตะแต้มบนกระดาษที่เปียกอยู่แล้วตามด้วยสีอื่น สีจะไหลซึม รุกรานเข้าหากันอย่างกลมกลืนและมีส่วนที่เกิดเป็นสีใหม่เพิ่มขึ้นมา  
ถ้าทำบนกระดาษเปียกชุ่ม สีจะรุกรานกันรวดเร็วและนุ่มนวล เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายท้องฟ้า หรือน้ำทะเล ได้
ถ้าทำบนกระดาษเปียก สีจะรุกรานไม่มากแต่ยังคงผสมผสานกลมกลืนกันดี เทคนิคนี้นำไปใช้ระบายเป็นพวกวัตถุรูปทรงทั่วไปได้
ถ้าทำบนกระดาษหมาด สีจะผสมผสานกลมกลืนกันน้อย เห็นการแยกสัดส่วนชัดเจนกว่า เทคนิคนี้นำไปใช้ สร้างพื้นผิวแสดงความแตกต่าง ไม่เรียบ 
การระบายแบบเปียกบนแห้ง (Wet ON Dry)
เป็นลักษณะการระบายเรียบโดยใช้สี (ผสมน้ำแล้ว) ระบายบนกระดาษแห้งมี 3 รูปแบบดังนี้ 
ระบายเรียบสีเดียว (Flat wash) โดยใช้พู่กันจุ่มสีระบายไปตามแนวนอนบนกระดาษที่เอียงเล็กน้อยให้น้ำสีไหลลงไปกองข้างล่างแล้วระบายต่อเนื่องกันลงไปจนจบ การระบายครั้งต่อไปให้ต่อที่ใต้คราบน้ำที่ยังเปียกอยู่ ผลที่ได้คือสีจะใส เรียบสม่ำเสมอ ระวัง อย่านำพู่กันไปจุ่มน้ำ หรือเติมน้ำลงในสี ระหว่างทำงานเพราะจะทำให้สีที่ได้ไม่เรียบเกิดเป็นขั้นได้ 
ระบายเรียบหลายสี (Colour wash) ทำเหมือนกับระบายเรียบสีเดียวแต่เมื่อจบสีที่ 1 แล้วให้ระบายสีที่ 2 ต่อที่ใต้คราบน้ำขณะที่เปียกอยู่ ผลที่ได้คือ สีต่างๆ จะมีการผสมผสานกลมกลืนกันอย่างต่อเนื่อง หมายเหตุ ทั้งการระบายเรียบสีเดียว และ หลายสี เป็นพื้นฐานของงานสีน้ำที่นำไปใช้ระบาย ให้เกิดภาพแล้วแต่ว่าจะให้เป็นสีเดียว หรือหลายสี เช่น ภาพคนใส่เสื้อผ้า ก็ต้องเป็นระบายเรียบหลายสี 
ระบายเรียบอ่อนแก่ (Grade wash) เป็นการระบายให้เกิดค่าน้ำหนักของสี จะเริ่มจากอ่อนไปหาแก่ หรือ จากแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ถ้าเริ่มจาก แก่ไปหาอ่อน ก็ผสมสีให้ข้นกว่าปกติ แล้วระบายเรียบได้ช่วงหนึ่งให้ล้างพู่กันจนสะอาดแล้วจุ่มน้ำมาระบายใต้คราบน้ำเป็นระยะๆให้สีจางลงไปเรื่อยๆ ถ้าเริ่มจาก อ่อนไปหาแก่ ให้ผสมสีเจือจางแล้วระบายเรียบไปช่วงหนึ่ง ก็เพิ่มสีให้มีความเข้มข้นขึ้น แล้วระบายต่อใต้คราบน้ำลงมา เป็นระยะๆ ให้สีเข้มขึ้นการระบายเรียบอ่อนแก่ เป็นเทคนิคที่นำไปใช้ระบายให้เกิด มิติ แสง-เงา 
การระบายแบบแห้งบนแห้ง (DRY ON DRY) เป็นการระบายสีข้นๆบนกระดาษแห้งในลักษณะต่างๆเช่น แตะ แต้ม ขีด เขียน ลากเส้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการใช้ส่วนต่างๆของพู่กันคือปลายบ้าง โคนบ้างเพื่อให้เกิดเป็นลักษณะต่างๆ เทคนิคนี้นำไปใช้เน้นเพื่อเพิ่มรายละเอียดของภาพ เช่น เมื่อเราทำภาพตัวบ้านเสร็จแล้วเราก็มาใส่ประตู หน้าต่าง ด้วยการใช้สีข้นๆ แตะ แต้ม ลงไปเราก็จะได้รายละเอียดของภาพแบบ DRY ON DRY 
การระบายเคลือบ (Glazing) 
เป็นการระบายทับซ้ำสีที่แห้งสนิทแล้วด้วยสีเดิมที่เข้มกว่า โดยสีที่ระบายเคลือบนี้ควรต้องเป็นสีโปร่งแสง ผลที่ได้คือ ส่วนที่ระบายเคลือบจะเป็นพื้นและส่วนที่เว้นไว้จะเป็นรูป ซึ่งรูปกับพื้นนี้จะมีความขัดแย้งหรือตัดกันเสมอ คือถ้าพื้นเข้มรูปต้องอ่อน ถ้าพื้นอ่อนรูปต้องเข้ม เทคนิคการระบายเคลือบนี้นำไปใช้ สร้างรูปทรง ผลักระยะให้ลึกตื้น  สร้างเงา ลดความจัดจ้านของสีบรรยากาศ   
การระบายขอบคมชัดและเรือนราง (Hard edge/Soft edge) 
Hard edge เป็นการระบายให้เกิดการตัดกัน แบ่งขอบเขตระหว่างรูปกับพื้นหรือพื้นกับรูปอย่างชัดเจน หรือให้เกิดเป็นเหลี่ยมเป็นสัน วิธีการ คือระบายเป็นขอบตามที่ต้องการแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีเขียนภาพทิวทัศน์ที่มีบ้านในสวน เราให้ส่วนที่เป็นหลังคาเว้นขาวไว้เพราะเป็นส่วนที่รับแสง ถัดจากหลังคาไปเป็นบรรยากาศก็ให้ใช้สีของบรรยากาศเพิ่มความเข้มระบายกดระยะลงไปเป็น Hard edgeเพื่อให้ตัวบ้านและบรรยากาศโดยรอบตัดกันเป็นขอบคมชัด แยกสัดส่วนกันเพื่อให้บ้านดูลอยเด่นขึ้นมา 
Soft edge คือการเจือจางขอบเขตระหว่างพื้นกับรูปบางส่วนให้ดูกลมกลืนกัน วิธีการคือใช้น้ำมา soft ตรงเส้นขอบให้เกิดการเจือจาง เทคนิคนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการลดความขัดแย้งให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีระบายภาพคลื่นในทะเล บางจุดของคลื่นจะมีน้ำทะเลตัดกับฟองอย่างชัดเจน และบางจุดที่ต่อเนื่องจะมีความกลมกลืนกัน เพราะฟองคลายตัวลงหรืออาจเป็นส่วนที่รับแสง ตรงส่วนนี้ให้เราSoft edge โดยใช้น้ำมาSoft เพื่อละลายเส้นขอบแสดงความกลมกลืนได้

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน หน่วยที่1
1. ศัพท์คำว่า Applied Arts หมายถึงข้อใด
ก งานทัศนศิลป์ที่ผลิตด้วยมือเป็นหลัก
ข งานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงดงาม
ค ผลงานทัศนศิลป์ที่เกิดจากการขีดเขียน ระบายสี โดยถ่ายทอดความงาม อารมณ์ ความรู้สึก
ง งานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายแสดงความงามร่วมกับประโยชน์ใช้สอย
2. ข้อใดคืองานประเภทวิจิตรศิลป์
ก กล้องถ่ายรูป     
ข จักรยานยนต์
ค เครื่องเบญจรงค์
ง ภาพวาดจิตรกรรม
3. ทัศนศิลป์ (Visual Art) หมายถึงข้อใด
ก ศิลปะการเขียน
ข ศิลปะการแสดง
ค ศิลปะที่มองเห็น
ง ศิลปะที่มองไม่เห็น
4. ทัศนศิลป์ประเภทใดที่จัดว่าเป็น “ศิลปะบริสุทธิ์”
ก หัตถศิลป์
ข วิจิตรศิลป์
ค พาณิชยศิลป์
ง ศิลปะประยุกต์
5. จุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์คือข้อใด
ก ถ่ายทอดความประทับใจ
ข ตระหนักถึงคุณค่าในงานทัศนศิลป์
ค มุ่งสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ด้วยจินตนาการ
ง ถูกทุกข้อ
6. จิตรกรรม (painting) หมายถึงข้อใด
ก การวาดเส้น
ข การระบายสี
ค การลอกภาพ
ง การพิมพ์ภาพ

ให้นักเรียนตอบคำถามข้อ 7-10 ให้ถูกต้องสมบูรณ์


7. Animal หมายถึง............
8. Still Life หมายถึง..................
9. Seascape หมายถึง.................
10. Human Figure หมายถึง...............


วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน (หน่วยการเรียนรู้ที่ 1)
ตอนที่ 1
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องและลอกคำถามลงในสมุด
1. ข้อใดคือทัศนธาตุ
จุด เส้น กระดาษ
สี บริเวณว่าง พื้นผิว
ขนาด เสียง สัดส่วน
รูปทรง บรรยากาศ เอกภาพ
2. ข้อใดไม่ใช่งานทัศนศิลป์
วรรณกรรม
ศิลปะสื่อผสม
ประติมากรรม
ศิลปะภาพพิมพ์
3. จุดเกิดจากข้อใด
กด
ลาก
เขียน
ระบาย
4. Line คือทัศนธาตุในข้อใด
จุด
เส้น
รูปร่าง
พื้นผิว
5. เส้นหยักหรือเส้นซิกแซ็กให้ความรู้สึกอย่างไร
สงบสุข
ตื่นเต้น
อ่อนไหว
ผ่อนคลาย
6. รูปสามเหลี่ยมให้อารมณ์และความรู้สึกอย่างไร
มั่นคง
พลิ้วไหว
ไม่มั่นคง
เคลื่อนไหว
7. รูปทรงมีกี่มิติ
2 มิติ
3 มิติ
4 มิติ
5 มิติ
8. Size คือทัศนธาตุในข้อใด
เส้น
ขนาด
รูปร่าง
สัดส่วน
9. สีมีความสัมพันธ์กับทัศนธาตุในข้อใดมากที่สุด
เส้น
แสง
รูปทรง
พื้นที่ว่าง
10. สีที่ให้ความรู้สึกอ่อนหวาน น่ารัก คือสีอะไร
สีชมพู
สีน้ำเงิน
สีเหลือง
สีน้ำตาล


ทัศนธาตุ เส้น

ความรู้เรื่อง ทัศนธาตุ : เส้น


    เส้นเกิดจากการเคลื่อนที่ของจุด (Moving dot) จำนวนมาก ไปในทิศทาง ที่กำหนด หรือเกิดจาก จุดหลาย ๆ จุด ที่ต่อเนื่องกันไปใน ทิศทาง เดียวกัน

    เส้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของงานทัศนศิลป์ เส้นมีลักษณะแตกต่างมากมาย แต่ก็มีพื้นฐานจาก 2 ลักษณะ คือ เส้นตรง เส้นโค้ง เพราะเส้นทั้ง 2 ลักษณะนี้ สามารถคลี่คลายเป็น เส้นลักษณะอื่นๆ ได้อีกหลายลักษณะ อาทิเช่น เส้นฟันปลา หรือเส้นซิกแซก เกิดจากเส้นตรงหลายเส้น เส้นคลื่น เกิดจากเส้นโค้งหลายเส้น เป็นต้น


        
    เส้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของงานทัศนศิลป์ เส้นมีลักษณะแตกต่างมากมาย แต่ก็มีพื้นฐานจาก 2 ลักษณะ คือ เส้นตรง เส้นโค้ง เพราะเส้นทั้ง 2 ลักษณะนี้ สามารถ คลี่คลายเป็น เส้นลักษณะอื่นๆ ได้อีกหลายลักษณะ อาทิเช่น เส้นฟันปลาหรือเส้นซิกแซกเกิดจากเส้นตรงหลายเส้น เส้นคลื่น เกิดจากเส้นโค้ง หลายเส้น เป็นต้น

   



    เส้น จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสายตาของมนุษย์ให้เคลื่อนที่ไปตามลักษณะของเส้น ได้เป็นอย่างดีเราจะเห็นเส้นในการเคลื่อนไหวของมนุษย์ เส้นรูปทรงของสัตว์ วัตถุและธรรมชาติที่แตกต่างกัน รูปลักษณะของเส้นเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นเส้น ที่ ปรากฏตามสายตา (Visual Elements) หรือเส้นที่ที่ปรากฏในความคิด (Conceptual Elements) ก็ตาม สามารถทำให้เกิดความรู้สึก ต่าง ๆ เช่น ตื่นเต้น สงบราบเรียบ นิ่มนวล ร่าเริง เคร่งขรึม อ่อนหวาน เป็นต้น เส้น จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกของผู้สร้างงานศิลปะ ให้ผู้อื่นสัมผัสได้เป็นอย่างดี

ความรู้สึกที่เกิดจากลักษณะของเส้น

    1. เส้นตรง (Staight Line)





    หมายถึงเส้นตรงในทิศทางใด ทิศทาง หนึ่ง ให้ความรู้สึก แข็ง แรง แน่นอน หยุดนิ่ง ถูกต้อง ตรง เข้มแข็ง ไม่ประนีประนอม รุนแรง เด็ดเดี่ยว ให้ความรู้สึกหยาบและการเอาชนะ เส้นตรงใช้มากในทัศนศิลป์ประเภท งานออกแบบ โคยเฉพาะการออกแบบจัดนิทรรศการ เพราะมีความสัมพันธ์ กับการออกแบบด้านอื่น ๆ เช่น พื้นที่ วัสดุ และงบประมาณ เป็นต้น
   
    2. เส้นโค้ง (Curved Line)



    เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกมีการเคลื่อนไหว เส้นโค้ง มีหลายลักษณะ คือเส้นโค้งน้อย ๆ หรือเป็นคลื่นน้อย ๆ ให้ความรู้สึกสบาย เปลี่ยนแปลงได้เลื่อนไหลต่อเนื่อง คลายความกระด้าง มีความ กลมกลืน ในการเปลี่ยนทิศทาง มีความเคลื่อนไหวช้า ๆ สุภาพ เย้ายวน มีความเป็น ผู้หญิง นุ่มนวล และอิ่มเอิบ ถ้าใช้ เส้นแบบนี้มากเกินไป จะให้ความรู้สึกกังวล เรื่อย ๆ เฉื่อยชา ขาดจุดหมาย แต่สำหรับงานออกแบบจัดนิทรรศการ เส้นโค้ง ทำให้งานออกแบบ มีความน่าสนใจ


    3. เส้นฟันปลาหรือเส้นซิกแซ็ก (Zigzag Line)





    เป็นเส้นตรงที่หักเหโดยกระทันหัน เปลี่ยนทิศทาง รวดเร็วมากทำให้ ประสาทกระตุก ให้ความรู้สึกรุนแรง ตื่นเต้น งานออกแบบจัดนิทรรศการ เส้นซิกแซก เกิดจากของเส้นตรงหลาย ๆ เส้นที่วางตำแหน่งทิศทางที่หักเห ทั้งทางตั้งและทางนอน ซึ่งถ้ามีการออกแบบ เส้นลักษณะนี้อย่างเหมาะสม ลงตัวแล้ว จะทำให้งานออกแบบนั้นมีความน่าสนใจ มีการนำสายตา บรรเทาความ แข็งกระด้างในการใช้เส้นตรง



ความรู้สึกที่เกิดจากทิศทางของเส้น

    เส้นทุกเส้นมีทิศทาง คือ ทางนอน ทางตั้ง หรือทางเฉียง ในแต่ละทิศทาง จะให้ความรู้สึก แตกต่างกัน ดังนี้

    1. เส้นนอน (Horizontals Line)





    เป็นเส้นเดินทางตามแนวนอน กลมกลืนกับ แรงดึงดูด ของโลก ให้ความรู้สึก ในทางราบ กว้าง พักผ่อน เงียบ เฉย สงบ นิ่ง เป็นสัญลักษณ์ของการพักผ่อน ผ่อนคลาย ที่ให้ความรู้สึก เช่นนี้มาจากท่าทางของคนนอนที่เป็นการพักผ่อน ไปจนถึง ความสงบ ที่เหมือนกับท่านอนของคน การใช้เส้นตรงแนวราบ ทำให้เนื้อที่สำหรับจัดนิทรรศการนั้น ดูกว้างขึ้น และเป็นการลดความสูงไปในตัว

   
    2. เส้นตั้ง (Vertical Line)





    เป็นเส้นที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับเส้นนอน คือเป็นเส้นที่เดินทางในแนวดิ่ง ให้ความสมดุล มั่นคง แข็งแรง สูงสง่า พุ่งขึ้น จริงจัง ทั้งนี้มาจากท่าทางมนุษย์ เวลาตื่นตัวมีพลัง จะอยู่ในลักษณะยืนขึ้น มากกว่าการนอนราบ

    
    3. เส้นเฉียง (Diagonal Line)





    เป็นเส้นที่อยู่ระหว่างเส้นนอน กับเส้นตั้ง ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง รวดเร็ว ไม่สมบูรณ์ ไม่มั่นคง ต้องการเส้นลักษณะอื่นมาช่วยให้มีความมั่นคง สมดุลขึ้น ให้ความรู้สึกพุ่งเข้า หรือพุ่งออกจากที่ว่าง ในงานออกแบบทัศนศิลป เส้นเฉียง ให้ประโยชน์ในการลดความกระด้าง จากการใช้เส้นตั้ง และเส้นนอน ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งและตื่นเต้น นอกจากนี้เส้นเฉียงสามารถ นำสายตาและ สามารถชึ้นำบางอย่างซึ่งกำลังเกิดขึ้นได้

;)...ติดตามตอนต่อไปจ้ะ